พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน

พ.ร.บ. กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 มาตราที่ 1-19 

:: พระราชบัญญัติ กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน
 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกองอาสารักษา ดินแดน พ.ศ. 2497"
 มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และจะใช้บังคับในท้องที่ใด ให้ประกาศโดย พระราชกฤษฎีกา
                     [รก.2497/14/285/23 กุมภาพันธ์ 2497]
 มาตรา 3 เมื่อได ้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ บังคับในท้องที่ใด บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่งมีข้อความแย้งหรือ ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ มิให้ใช้บังคับในท้อง                      ที่นั้น
:: หมวด 1 การจัดตั้งกองอาสารักษาดินแดน
 มาตรา 4 ให้จัดตั้งกองอาสารักษาดินแดนเป็นองค์การขึ้นอยู่ใน กระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า "กองอาสารักษาดินแดน"
 มาตรา 5 กองอาสารักษาดินแดนแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
 (1) ส่วนกลาง
 (2) ส่วนภูมิภาค
 มาตรา 6 ให้มีกรรมการคณะหนึ่งจำนวนไม่น้อยกว่าสิบคน และ ไม่เกินยี่สิบคน เรียกว่า "คณะกรรมการกลางกองอาสารักษาดินแดน" ประกอบ ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็น                               ประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมเป็นรองประธานโดยตำแหน่ง ส่วนกรรมการอื่น เลขาธิการและรอง เลขาธิการนั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งและ                           ถอดถอน โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
         [ มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504]
 มาตรา 7 คณะกรรมการกลางกองอาสารักษาดินแดน มีอำนาจ และหน้าที่จัดและดำเนินงานกองอาสารักษาดินแดนโดยทั่วไปตามนโยบายและ วิชาทางเทคนิคของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และวางระเบียบและข้อบังคับ สำหรับกองอาสารักษาดินแดน ดังต่อไปนี้
 (1) กำหนดวิธีรับสมัคร วิธีคัดเลือก และการให้ออกจากสมาชิก กองอาสารักษาดินแดน
 (2) กำหนดยศ ชั้น ของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
 (3) กำหนดเหล่าของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
 (4) กำหนดหลักสูตร การอบรม และการฝึก
 (5) กำหนดการใช้จ่ายและงบประมาณของกองอาสารักษาดินแดน
 (6) กำหนดการเก็บ รักษา และการใช้อาวุธ
           มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504]
 มาตรา 8 กองอาสารักษาดินแดนส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย กองอาสารักษาดินแดนจังหวัด และกองอาสารักษาดินแดนอำเภอ ตามชื่อ ท้องที่ที่ได้ประกาศตั้งขึ้น
 มาตรา 9 ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ ตลอดจนอำนาจ การปกครองบังคับบัญชารวม ทั้งการกำหนดอัตรากำลังของแต่ละหน่วยใน กองอาสารักษาดินแดน ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง
 มาตรา 10 วินัยและการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยของเจ้าหน้าที่ และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัย กองอาสารักษาดินแดน
 มาตรา 11 การเข้าเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนให้กระทำ โดยวิธีรับสมัครผู้อาสา แต่ถ้าในท้องที่ใดไม่มีบุคคลสมัคร หรือมีบุคคลสมัคร ไม่เพียงพอตามความต้องการ จะกำหนดให้ท้องที่                       นั้นมีการเรียกบุคคลให้สมัคร เพื่อคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกโดยพระราชกฤษฎีกาก็ได้ และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับ สมัครหรือได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนมีสิทธิและ                       หน้าที่ ตามพระราชบัญญัตินี้ นับแต่วันได้รับสมัครหรือได้รับการคัดเลือก
 มาตรา 12 สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนต้องมีคุณสมบัติและ ลักษณะ ดังนี้
 (1) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในท้องที่ที่เข้าเป็นสมาชิก
 (2) มีสัญชาติไทย
 (3) มีอายุตั้งแต่ 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
 (4) มีร่างกายสมบูรณ์ และสมควรแก่การเป็นสมาชิกกองอาสา รักษาดินแดน
 (5) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
 (6) ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร หรือนักบวชแห่งศาสนาใด
 (7) ไม่เป็นสมาชิกกองอาสากาชาด
 (8) ไม่เป็นทหารหรือตำรวจประจำการตามกฎหมายว่าด้วย การรับราชการทหาร
 (9) ไม่เป็นผู้มีพฤติการณ์อันเป็นที่รังเกียจ เช่น เป็นคนเสเพล อันธพาล หรือเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย เป็นต้น
 มาตรา 13 ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน จะปฏิบัติหน้าที่ของกองอาสารักษาดินแดนได้ในเมื่อไม่ติดราชการจำเป็น
 มาตรา 14 สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนมี 3 ประเภท คือ
 (1) ประเภทสำรอง คือสมาชิกที่ยังไม่ได้เข้ารับการฝึกหัด และอบรม
 (2) ประเภทประจำกอง คือสมาชิกที่ได้รับการฝึกหัดและอบรม และบรรจุอยู่ในอัตรากำลัง
 (3) ประเภทกองหนุน คือสมาชิกที่ได้ปลดออกจากประจำกอง
 มาตรา 15 การรับ บุคคลเข้าเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อรับสมัครหรือคัดเลือก :: หมวด 2 หน้าที่ของกองอาสารักษาดินแดน
 มาตรา 16 กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่
 (1) บรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของข้าศึก
 (2) ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
 (3) รักษาสถานที่สำคัญและการคมนาคม
 (4) ป้องกันจารกรรม สดับตรับฟัง และรายงานข่าว
 (5) ทำการช่วยให้ความสะดวกแก่ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการ และตัดทอนกำลังข้าศึก
 (6) เป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุน กำลังทหารได้เมื่อจำเป็น
           มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504]
 มาตรา 17 เจ้าหน้าที่และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่
 (1) กระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งการโดยชอบ
 (2) ปฏิบัติตามหน้าที่ ระเบียบ ข้อบังคับ และวินัยของกอง อาสารักษาดินแดน
 มาตรา 18 ผู้บังคับบัญชามีอำนาจที่จะสั่งใช้กำลังของกองอาสา รักษาดินแดนให้ทำการตามอำนาจหน้าที่ได้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 มาตรา 19 เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในท้องที่ใด ให้เจ้าหน้าที่และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอยู่ในบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหาร